คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่16

ครั้งที่16  

                                    แผนการสอน หน่วยต้นไม้

วันอังคาร

-ชนิดของต้นไม้

สาระการเรียนรู้= ต้นไม้ยืนต้น  ต้นไม้ล้มลุก
บูรณาการมาตรฐาน


-เปรียบเทียบและจำแนกแยกแยะชนิดของต้นไม้ได้


กิจกรรมการเรียน

-ครูนำเด็กเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้คำถามเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ เช่น ที่บ้านของเด็กๆปลูกต้นไม้อะไนบ้างคะ และต้นไม้เหล่านั้นเป็นต้นไม้ชนิดไหน

-ให้เด็กดูต้นไม้แบบจริง ชนิดไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก

-ทำตารางเปรียบเทียบชนิดของต้นไม้ทั้งสองชนิด ครูและเด็กร่วมกันบอกรายละเอียดชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างและเหมือนกัน และร่วมกันสรุป





              ต้นมะขาม (ต้นไม้ยืนต้น)















               ผักชี(ต้นไม้ล้มลุก)






ครั้งที่15

ครั้งที่15

                                                                               14 กุมภาพันธ์ 2556

                                                 บันทึกการเรียน

อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม "ขวดน้ำส่วนตัว" ที่จัดอยู่ลานแดงในมหา'ลัย
โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นและส่งเสริมให้คนหันมาใช้ขวดน้ำส่วนตัวไว้พกพากันมากขึ้น นอกจากช่วยลดขยะพลาสติกแล้วยังทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำกินในแต่ละวันด้วย แล้วยังรวมไปถึงการช่วยลดภาวะโลกร้อน นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและน่าสนับสนุนมาก
หลังจากนั้นพอมีเวลาเหลืออาจารย์ก็เข้าสอนตามปกติ  โดยให้ดูตัวอย่างการเตรียมสื่อที่จะสอน การจัดหาสื่อที่จะสอดคล้องกับแนวการสอน 
*เนื่องจากจะสอบปลายภาคแล้ว ยังเหลือกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ออกไปสอนหน่วยที่เตรียมไว้ อาจารย์จึงมอบหมายให้เขียนแผนการสอนและรายละเอียดลงในบล๊อกของตนเอง
   

ครั้งที่14

ครั้งที่14

 

                                                                            7 กุมภาพันธ์ 2556

 

                                       บันทึกการเรียนการสอน


วันนี้กลุ่มของดิฉันออกไปสอนหน้าชั้นเรียน รายละเอียดดังนี้ค่ะ

 

-หน่วย ต้นไม้

 

วันจันทร์:   สอนเรื่องชนิดของต้นไม้โดย แบ่งต้นไม้เป็น2ชนิดได้แก่ ต้นไม้ยืนต้นและต้นไม้ล้มลุก

วันอังคาร:  รื่องลักษณะของต้นไม้ ต้นไม้ยืนต้นมีพื้นผิวขรุขระ มีสีน้ำตาลและสีดำ มีลักษณะลำต้นเป็นกิ่งเป็นก้านแตกออกไปมีรากแข็งใหญ่ส่วนต้นไม้ล้มลุกมีพื้นผิวเรียบ มีสีน้ำตาลและสีดำมีลำต้นเตี้ยมีรากฝอย

วันพุธ:  ส่วนประกอบและหน้าที่ของต้นไม้

ลำต้น -มีหน้าที่ชูกิ่ง ก้าน ใบ ดอกเพื่อรับแสงแดดในการปรุงอาหารมีหน้าที่ลำเลียงน้ำและอาหารจากรากสู่ส่วนต่างๆของลำต้นมีหน้าที่พิเศษคือสะสมอาหารและขยายพันธุ์
ใบ -มีหน้าที่สร้างอาหารให้พืชด้วยการสังเคราะห์แสงแต่เพื่อให้เด็กอนุบาลเข้าใจต้องเรียกว่าปรุงอาหาร
-หายใจ
-คายน้ำ
-ดักแมลง
ราก -มีหน้าที่ยึดลำต้นและดูดซึมอาหาร
กิ่ง-ก้าน -มีหน้าที่ชูดอกและใบ

วันพฤหัสบดี: เรื่องประโยชน์ของต้นไม้ >ให้ร่มเงา>เป็นแนวป้องกันลมพายุ
>เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์>ให้ความสดชื่น

วันศุกร์: สอนเรื่องอันตรายที่เกิดจากต้นไม้ >เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ

>พิษจากต้นไม้ที่ทำให้เกิดผื่นคัน >ยางจากต้นไม้ >ต้นไม้ที่มีหนาม




ครั้งที่13

ครั้งที่31

                                                                                  31 มกราคม 2556

                                                บันทึกการเรียน

     อาจารย์ให้นักศึกษาที่จับลำดับได้อันดับแรกออกไปฝึกสอน 5วัน รายละเอียดที่เพื่อนสอนมีดังนี้


-หน่วยดิน

วันจันทร์:สอนเรื่องชนิดของดินเพื่อนนำเอาตัวอย่างดินมาลองให้จับและช่วยกันตอบว่าเรารู้จักดินชนิดอะไรบ้าง

วันอังคาร: สอนเรื่องลักษณะของดิน เพื่อนถามว่ารู้จักดินกี่ชนิดชนิดใดบ้างพวกเราก็ช่วยกันตอบและเพื่อนก็นำ ตัวอย่างดินที่เตรียมมาให้ลองจับแล้วเพื่อนก็ถามต่อว่าดินมีสีอะไรบ้าง เนื้อดินมีลักษณะอย่างไรบ้าง

วันพุธ: สอนเรื่องสิ่งที่อยู่ใน ดินเพื่อนก็ถามว่ามีอะไรอาศัยอยู่ในดินบ้างคะ พวกเราก็ตอบว่า หนอน  เปลือกไม้ ไส้เดือน กิ้งกือ เป็นต้น และเพื่อนก็ได้ถามต่อว่าสิ่งใดมีชีวิตและไม่มีชีวิต

วันพฤหัสบดี:  สอนเรื่องประโยชน์ของดิน เพื่อนถามว่าดินสามารถทำประโยชน์ใดได้บ้าง เราช่วยกันตอบว่าปลูกต้นไม้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ สร้างบ้านทำที่อยู่อาศัย เป็นต้น

วันศุกร์: สอนเรื่องอันตรายที่เกิด จากดินเพื่อนถามว่าอันตรายใดบ้างที่เกิดจากดินเราก็ช่วยกันตอบว่าพยาธิเมื่อ เราไม่สวมรองเท้าเวลาเดินบนดินจะทำให้พยาธิตัวขอเข้าสู่ร่างกาย

ครั้งที่12

ครั้งที่12

                                                                                17 มกราคม 2556
                                         บันทึกการเรียนการสอน 


อาจารย์สอนในเนื้อหาสาระมาตรฐานการเรียนรู้ของ สสวท มี

-จำนวนและกรดำเนินการ

-การวัด

-เรขาคณิต

-พีชคณิต

-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

*เทคนิคการเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย

-เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก

-มีประโยชน์ต่อเด็ก

-เสริมพัฒนาการ

-เข้าใจง่าย

-มีความสำคัญกับเด็ก

-มีผลกระทบกับเด็ก

ครั้งที่11

ครั้งที่11 

                                                                                          10 มกราคม 2556

                                                บันทึกการเรียนการสอน

อาจารย์สอนในเนื้อหาสาระต่อไปนี้

-จำนวนและการดำเนินการ

-การวัด

-เรขาคณิต

-พีชคณิต

-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

*อาจารย์ให้นำ Mind Mapping ที่แตกความคิดสัปดาห์ที่แล้วออกมาแยกเป็นสาระการเรียนรู้5วัน

ครั้งที่10

ครั้งที่10

                                                                                      3 มกราคม 2556


                                      บันทึกการเรียนการสอน

อาจารย์ให้นำกระดาษลังตัดขนาดมา4x4 6x6 8x8 แล้วให้นักศึกษาคิดว่าจะใช้สิ่งนี้จัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง และแผ่นกระดาษลังที่ตัดมาเป็นตารางนิ้วใช้เป็นสื่อการสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

-การหาค่า

-การวัด

-จำนวน

-ใช้ตัวเลขกำกับจำนวน

-เปรียบเทียบ

-จับคู่



ครั้งที่9

ครั้งที่9

                                                                                      27 ธันวาคม 2555




*หมายเหตุ  : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบเสร็จแล้วนักศึกษากลับบ้านเยอะ คนมาเรียนน้อย อาจารย์เลยให้หยุดปีใหม่


ครั้งที่8

ครั้งที่8
              
                                                                                         20 ธันวาคม พ.ศ.2555

                                            

                                       สอบกลางภาค


*ค้นคว้าเพิ่มเติม


บัตรสี่เกลอ
การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข อันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตั้งแต่ 1-10
ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนการจัดกิจกรรมอาจมีการ เปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย
ใช้สอนชั้น อนุบาลปีที่ 1
จุดประสงค์
   - เพื่อแสดงจำนวนเลขด้วย ภาพ ตัวหนังสือ เลขอารบิก และเลขไทย
   -เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกตทักษะการคิด
   -เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านสังคม
วัสดุที่ใช้
   1.ฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 7 x 6 นิ้ว จำนวน 44แผ่น
   2.รูปภาพต่างๆ
   3.ตัวหนังสือ ศูนย์-สิบ
   4.ตัวเลขไทย 0-10
   5.ตัวเลขอารบิก 0-10
   6.กาวลาแท็กซ์
   7.สติ๊กเกอร์ใส
   8.แล็คซีน
ประโยชน์ที่ได้รับ
   1.เด็กได้รู้จักตัวเลข 0-10                                                                    
   2.เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกตและทักษะการคิด
   3.เด็กเกิดความสนุกสนาน และได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่ม

แผนการสอน การนับ
1.จุดประสงค์
   - เพื่อให้เด็กรู้จักการนับอย่างง่ายได้
   -เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกตทักษะการคิด
ขั้นนำ
-กล่าวคำทักทายเด็กๆ บอกชื่อกิจกรรม บอกวัตถุประสงค์
-เตรียมความพร้อมให้ก่อนสอน โดยการปรบมือเป็นจังหวะครูพาเด็กร้องเพลงพร้อมทำท่าประกอบ
ขั้นกิจกรรม
-ครูเริ่มเข้าสู่บทเรียนให้เด็กนับจำนวนของสิ่งของที่อยู่ในบัตรภาพ เช่น ไก่ 4 ตัว ให้เด็กนับตัวไก่ แล้วบอกว่ามี กี่ตัว เมื่อเด็กตอบว่า สี่ ครูก็พาเด็กเขียนตัวเลข สี่บนอากาศ
-ครูพาเด็กๆทำเช่นเดิม ตั้งแต่ 0-10
-ขั้นสรุป
ครูให้เด็กนับ 0-10 พร้อมกัน
ประโยชน์ที่ได้
-เด็กสามารถนำจำนวน 0-10 ได้
-เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกตทักษะการคิด

แผนการสอน ตัวเลข
 1.จุดประสงค์
   - เพื่อแสดงจำนวนเลขด้วย ภาพ ตัวหนังสือ เลขอารบิก และเลขไทย
   -เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกตทักษะการคิด
   -เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านสังคม
ขั้นนำ
-กล่าวคำทักทายเด็กๆ บอกชื่อกิจกรรม บอกวัตถุประสงค์
-เตรียมความพร้อมให้ก่อนสอน โดยการปรบมือเป็นจังหวะครูพาเด็กร้องเพลงพร้อมทำท่าประกอบ
ขั้นกิจกรรม
  1.ครูยกบัตรภาพขึ้น ถามนักเรียนว่ามีจำนวนเท่าใด เขียนเป็นตัวหนังสือได้อย่างไร(หนึ่ง)
   2.ครูหยิบบัตรตัวหนังสือ(หนึ่ง) ขึ้นมาวางไว้บนกระดานแล้วถามนักเรียว่าเลขอารบิคเขียนอย่างไร(1)
   3.ครูหยิบบัตรตัวเลขอารบิก(1) ขึ้นมาวางไว้บนกระดานแล้วถามนักเรียนว่าเลขไทยเขียนอย่างไร(1)
   4.ครูหยิบบัตรตัวเลขไทย(1) วางไว้บนกระดาน 
   5.จำนวน 2-10 ดำเนินการเช่นเดียวกับ ขั้นที่ 1-4                     
   6.ครูใช้บัตรสี่เกลอเล่นเกม โดยที่ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มแล้วให้แต่ละกลุ่มออกมาจับบัตร โดยที่ครูเป็นคนบอกให้นักเรียนหาจำนวน (4) ก็ให้นักเรียนกลุ่มนั้นหาจำนวน (4) ถ้ากลุมไหนได้จำนวนสี่ตรงกันทุกบัตร กลุ่มนั้นก็จะได้ 1 คะแนน
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
   1.เด็กได้รู้จักตัวเลข 0-10                                                                    
   2.เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกตและทักษะการคิด โดยการเชื่อมโยงจากรูปภาพเป็นตัวเลข
   3.เด็กเกิดความสนุกสนาน และได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่ม
           

ครั้งที่7

ครั้งที่7

                                                                          13 ธันวาคม 2555


อาจารย์สอนถึงคู่มือกรอบมาตรฐานที่เป็นวิธีการที่อธิบายให้รู้แนวทางหรือสิ่งที่บ่งบอกถึง ความน่าเชื่อถือที่เป็นที่ยอมรับเพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้หรือวิธีการที่ อธิบายถึงเนื้อหาต่างๆ สำหรับเครื่องมือในการเรียนรู้  คือ  ภาษากับคณิตศาสตร์
1. )จำนวนและการดำเนินการ

        -  การแสดงจำนวน = เขียน  พูด  หยิบตัวเลขมาวาง  เส้นจำนวน
2.) การวัด

         - การหาค่าเครื่องมือ  ความยาว  เงิน  เวลา

3.) พีชคณิต

         - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์   การทำตามแบบ

4. )การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าเชื่อถือ

         - การวิเคราะห์หน่วย สิ่งที่อยู่รอบตัวเราแล้วนำเสนอ

5.) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ประกอบไปด้วย

       - การแก้ปัญหา

       - การให้เหตุผล

       - การสื่อสาร

       - การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์

       - การนำเสนอ

       - การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์

       - เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ